วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

อินเวอร์ส




1.หาอินเวอร์สของฟังก์ชันที่กำหนดให้
2. บอกความหมายของฟังก์ชันอินเวอร์สได้
3. บอกได้ว่าฟังก์ชันที่กำหนดให้มีฟังก์ชันอินเวอร์สหรือไม่
4. บอกโดเมนและเรนจ์ของฟังก์ชันอินเวอร์ส
5. เขียนกราฟของฟังก์ชันอินเวอร์ส

เนื่องจากฟังก์ชันเป็นความสัมพันธ์ ดังนั้นจึงถือว่าอินเวอร์สของฟังก์ชันเป็นความสัมพันธ์
แต่มีข้อที่น่าสังเกตคืออินเวอร์สของฟังก์ชันไม่จำเป็นต้องเป็นฟังก์ชันเสมอไป
ตัวอย่าง
     f={(1,2),(2,3),(3,4)} เป็นฟังก์ชัน และ
     f-1 ={(2,1),(3,2),(4,3)}เป็นฟังก์ชัน
สำหรับ g ={(1,2),(2,3),(3,2)} เป็นฟังก์ชันแต่ g-1={(2,1),(3,2),(2,3)} ไม่เป็นฟังก์ชัน
ในที่นี้ เรียกอินเวอร์สของฟังก์ชันที่เป็นฟังก์ชันว่า "ฟังก์ชันอินเวอร์ส" ซึ่งฟังก์ชันที่เป็นอินเวอร์สได้นั้น

ต้องเป็นฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่ง












อินเวอร์ส

อินเวอร์สของเมตริกซ์ในที่นี้  หมายถึงอินเวอร์สของการคูณของเมตริกซ์ ซึ่งเมตริกซ์ที่จะหาอินเวอร์สได้นั้นจะต้องมีค่ากำหนดไม่เท่ากับศูนย์ อินเวอร์สของเมตริกซ์ A จะใช้สัญญาลักษณ์ A-1 ทั้งนี้ A A-1= A-1A
เราจะเรียก k ว่าเป็นอินเวอร์สการคูณของ a และเขียน k แทนด้วย a-1 และเพราะว่า a.1 = 1.a = a ทุก ๆ ค่า a เราเรียก 1 ว่าเป็น เอกลักษณการคูณของจำนวนจริง

แบบฝึกหัด




เฉลยแบบฝึกหัด






วันที่  25/9/2556

ฟังก์ชันคอมโพสิท (Composite  Function)


เป็นการกระทำกันระหว่างฟังก์ชันตั้งแต่ 2 ฟังก์ชันขึ้นไป 

ให้  f และ เป็นฟังก์ชัน  สำหรับฟังก์ชันที่เป็นเซตแบบแจกแจงเช่น

   f = {(1,3),(2,4),(3,5)}

   g = {(5,1),(3,2),(4,3)}

เราสามารถสร้างฟังก์ชันขึ้นมาใหม่ เรียกว่า gof (จีโอเอฟ) แต่ผมมักจะเรียกไปเลยว่า ก็อฟ

gof  เป็นฟังก์ชันจาก f ไปยัง g

 จะได้       gof  = {(1,2),(2,4),(3,1)}

(gof)(1) = g(f(1)) = g(3) = 2

(gof)(2) = g(f(2)) = g(4) = 3

(gof)(3) = g(f(3)) = g(5) = 1


นิยาม ให้ f และ g เป็นฟังก์ชัน และ R f  Dg    ฟังก์ชันคอมโพสิทของ f และ g
เขียนแทนด้วย gof  กำหนด (gof)(x) = g(f(x))  ซึ่ง f(x)  Dg

ตัวอย่างที่ 1  กำหนด f = {(1,2),(3,4),(5,6),(7,8)}

                                  g = {(2,a),(4,b),(7,c),(8,d)}


จงหา (gof)(1) , (gof)(3) , (gof)(7)  พร้อมทั้งหา gof และ  fog

วิธีทำ   gof เป็นฟังก์ชัน จาก ไป g

R f   = {2,4,6,8} ,  Dg = {2,4,7,8}

R f  Dg  = {2,4,8}   Ø แสดงว่าหา gof ได้


(gof)(1) = g(f(1)) = g(2) = a

(gof)(3) = g(f(3)) = g(4) = b

(gof)(7) = g(f(7)) = g(8) = d

ดังนั้นจะได้  gof = {(1,a),(3,b),(7,d)}

fog  เป็นฟังก์ชันจาก g ไป f

R =  {a,b,c,d} ,  Df  =   {1,3,5,7}

Rg    Df   = Ø


แสดงว่าหา fog   ไม่ได้

ตัวอย่างที่ 2  กำหนดให้ f(x) = 3x-5 , g(x) = 1/x-3

จงหา  gof , fog , (gof)(3) , (fog)(2)

วิธีทำ  1.) หา gof

           R  =  R        
           Dg   =  R - {3}

R f  Dg   Ø แสดงว่าหา gof ได้


           (gof)(x) = g(f(x))

                        = g(3x-5)

                        =  1/(3x-5)-3  = 1/3x-8

  ดังนั้น gof = {(x,y) | y = 1/3x-8}
             
  (gof)(3) = g(f(3)) = g(4) = 1

           2.)  หา  fog
    
                     R 
  0

                      Df  =  R
  
 Rg    Df    Ø  แสดงว่าหา fog ได้


(fog)(x) = f(g(x)) = f(1/x-3)

             = 3(1/x-3)-5 = (3/x-3)-5

(fog)(x) = 18-5x/x-3

     fog   = {(x,y) |  y = 18-5x/x-3}  
(fog)(2) = 18-5(2)/2-3 = 18-10/-1

             = -8       

1. บอกได้ว่าจะหาฟังก์ชันคอมโพสิทของฟังก์ชัน 2 ฟังก์ชันที่กำหนดได้หรือไม่
2. หาฟังก์ชันคอมโพสิทของฟังก์ชัน 2 ฟังก์ชันที่กำหนดให้

ให้ f และ g เป็นฟังก์ชัน ดังภาพประกอบ


 จากแผนภาพจะได้ f(1) =a , f(2) =c , f(3) = b , g(a) = p , g(b) = p , g(c)= q
จาก f และ g ที่กำหนดให้จะได้
         g(f(1)) = g(a) = p         g(f(2)) = g(c) = q               g(f(3)) = g(b) = p
อาจสร้างฟังก์ชันขึ้นมาใหม่เรียกว่า ""ฟังก์ชันคอมโพสิท gof (อ่านว่า จีโอเอฟ )"เป็นฟังก์ชันจาก A ไป C กำหนดโดย
         (gof)(1) = g(f(1))          (gof)(2) = g(f(2))         (gof)(3) = g(f(3))
ดังนั้น    (gof)(1) = p                 (gof)(2) = q               (gof)(3) = p



 จากแผนภาพถ้ามี y ซึ่ง y = f(x) และ z = g(y) ซึ่งจะหาค่า g(f(x)) ได้ เท่ากับ z กล่าวได้ว่าจะเกิด gof เพราะฉะนั้น การเกิด
gof มีเงื่อนไขสำคัญ คือ ต้องมี y อยู่ใน Rf และ Dg พร้อมกัน นั่นคือ Rf Dg ต้องไม่ใช่เซตว่าง
















ฟังก์ชันคอมโพสิท

เป็นการกระทำกันระหว่างฟังก์ชันตั้งแต่ 2 ฟังก์ชันขึ้นไป 
ให้ f และ g เป็นฟังก์ชัน และ R f  Dg    ฟังก์ชันคอมโพสิทของ f และ g
เขียนแทนด้วย gof  กำหนด (gof)(x) = g(f(x))  ซึ่ง f(x) 
 Dg

แบบฝึกหัด

 เฉลยแบบฝึกหัด

                http://www.youtube.com/watch?v=vFAqwn9mq24
            วันที่  25/9/2556

ฟังก์ชัน

"f(x)" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับวงดนตรีเกาหลี ดูที่ เอฟ (เอกซ์)
ในคณิตศาสตร์ ฟังก์ชัน คือ ความสัมพันธ์ จาก เซต หนึ่ง (โดเมน) ไปยังอีกเซตหนึ่ง (โคโดเมน ไม่ใช่ เรนจ์) โดยที่สมาชิกตัวหน้าไม่ซ้ำกัน ความคิดรวบยอดของฟังก์ชันนี้เป็นพื้นฐานของทุกสาขาของคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เชิงปริมาณ

แนวคิด
แนวคิดที่สำคัญที่สุดคือ ฟังก์ชันนั้นเป็น "กฎ" ที่กำหนด ผลลัพธ์โดยขึ้นกับสิ่งที่นำเข้ามา ต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง
·         แต่ละคนจะมีสีที่ตนชอบ (แดง, ส้ม, เหลือง, เขียว, ฟ้า, น้ำเงิน, คราม หรือม่วง) สีที่ชอบเป็นฟังก์ชันของแต่ละคน เช่น จอห์นชอบสีแดง แต่คิมชอบสีม่วง ในที่นี้สิ่งที่นำเข้าคือคน และผลลัพธ์คือ 1 ใน 8 สีดังกล่าว
·         มีเด็กบางคนขายน้ำมะนาวในช่วงฤดูร้อน จำนวนน้ำมะนาวที่ขายได้เป็นฟังก์ชันของอุณหภูมิภายนอก ตัวอย่างเช่น ถ้าภายนอกมีอุณหภูมิ 85 องศา จะขายได้ 10 แก้ว แต่ถ้าอุณหภูมิ 95 องศา จะขายได้ 25 แก้ว ในที่นี้ สิ่งที่นำเข้าคืออุณหภูมิ และผลลัพธ์คือจำนวนน้ำมะนาวที่ขายได้
·         ก้อนหินก้อนหนึ่งปล่อยลงมาจากชั้นต่างๆของตึกสูง ถ้าปล่อยจากชั้นที่สอง จะใช้เวลา 2 วินาที และถ้าปล่อยจากชั้นที่แปด จะใช้เวลา (เพียง) 4 วินาที ในที่นี้ สิ่งนำเข้าคือชั้น และผลลัพธ์คือระยะเวลาเป็นวินาทีฟังก์ชันนี้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง เวลาที่ก้อนหินใช้ตกถึงพื้นกับชั้นที่มันถูกปล่อยลงมา (ดู ความเร่ง)
"กฎ" ที่นิยามฟังก์ชันอาจเป็น สูตรความสัมพันธ์ (คณิตศาสตร์) หรือเป็นแค่ตารางที่ลำดับผลลัพธ์กับสิ่งที่นำเข้า ลักษณะเฉพาะที่สำคัญของฟังก์ชันคือมันจะมีผลลัพธ์เหมือนเดิมตลอดเมื่อให้สิ่งนำเข้าเหมือนเดิม ลักษณะนี้ทำให้เราเปรียบเทียบฟังก์ชันกับ "เครื่องกล" หรือ "กล่องดำ" ที่จะเปลี่ยนสิ่งนำเข้าไปเป็นผลลัพธ์ที่ตายตัว เรามักจะเรียกสิ่งนำเข้าว่า อาร์กิวเมนต์ (argument) และเรียกผลลัพธ์ว่า ค่า (value) ของฟังก์ชัน
ชนิดของฟังก์ชันธรรมดาเกิดจากที่ทั้งอาร์กิวเมนต์และค่าของฟังก์ชันเป็นตัวเลขทั้งคู่ ความสัมพันธ์ของฟังก์ชันมักจะเขียนในรูปสูตร และจะได้ค่าของฟังก์ชันมาทันทีเพียงแทนที่อาร์กิวเมนต์ลงในสูตร เช่น
F(x) = xˆ2
ซึ่งจะได้ค่ากำลังสองของ x ใดๆ
โดยนัยทั่วไปแล้ว ฟังก์ชันจะสามารถมีได้มากกว่าหนึ่งอาร์กิวเมนต์ เช่น
G(x,y) = xy
เป็นฟังก์ชันที่นำตัวเลข x และ y มาหาผลคูณ ดูเหมือนว่านี่ไม่ใช่ฟังก์ชันจริงๆดังที่เราได้อธิบายข้างต้น เพราะว่า "กฎ" ขึ้นอยู่กับสิ่งนำเข้า 2 สิ่ง อย่างไรก็ตาม ถ้าเราคิดว่าสิ่งนำเข้า 2 สิ่งนี้เป็น คู่อันดับ(x,y)  1 คู่ เราก็จะสามารถแปลได้ว่า g เป็นฟังก์ชัน โดยที่อาร์กิวเมนต์คือคู่อันดับ (x,y)   และค่าของฟังก์ชันคือ xy
ในวิทยาศาสตร์ เรามักจะต้องเผชิญหน้ากับฟังก์ชันที่ไม่ได้กำหนดขึ้นจากสูตร เช่นอุณหภูมิบนพื้นผิวโลกในเวลาใดเวลาหนึ่ง นี่เป็นฟังก์ชันที่มีสถานที่และเวลาเป็นอาร์กิวเมนต์ และให้ผลลัพธ์เป็นอุณหภูมิของสถานที่และเวลานั้นๆ
เราได้เห็นแล้วว่าแนวคิดของฟังก์ชันไม่ได้จำกัดอยู่แค่การคำนวณด้วยตัวเลขเท่านั้น และไม่ได้จำกัดอยู่แค่การคำนวณด้วย แนวคิดของคณิตศาสตร์เกี่ยวกับฟังก์ชัน เป็นแนวคิดโดยทั่วไปและไม่ได้จำกัดอยู่แค่สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขเท่านั้น แน่นอนว่าฟังก์ชันเชื่อมโยง "โดเมน" (เซตของสิ่งนำเข้า) เข้ากับ "โคโดเมน" (เซตของผลลัพธ์ที่เป็นไปได้) ดังนั้นสมาชิกแต่ละตัวของโดเมนจะจับคู่กับสมาชิกตัวใดตัวหนึ่งของโคโดเมนเท่านั้น ฟังก์ชันนั้นนิยามเป็นความสัมพันธ์ที่แน่นอน ดังที่จะกล่าวต่อไป เป็นเหตุจากลักษณะทั่วไปนี้ แนวคิดรวบยอดของฟังก์ชันจึงเป็นพื้นฐานของทุกสาขาในคณิตศาสตร์

ประวัติ
ในทางคณิตศาสตร์ "ฟังก์ชัน" บัญญัติขึ้นโดย ไลบ์นิซ ใน พ.ศ. 2237 เพื่ออธิบายปริมาณที่เกี่ยวข้องกับเส้นโค้ง เช่น ความชันของเส้นโค้ง หรือจุดบนเส้นโค้ง ฟังก์ชันที่ไลบ์นิซพิจารณานั้นในปัจจุบันเรียกว่า ฟังก์ชันที่หาอนุพันธ์ได้ และเป็นชนิดของฟังก์ชันที่มักจะแก้ด้วยผู้ที่ไม่ใช่นักคณิตศาสตร์ สำหรับฟังก์ชันชนิดนี้ เราสามารถพูดถึงลิมิตและอนุพันธ์ ซึ่งเป็นการทฤษฎีเซต พวกเขาได้พยายามนิยามวัตถุทางคณิตศาสตร์ทั้งหมดด้วยเซต ดีริคเลท และ โลบาเชฟสกี ได้ให้นิยามสมัยใหม่ของฟังก์ชันออกมาเกือบพร้อมๆกัน
ในคำนิยามนี้ ฟังก์ชันเป็นเพียงกรณีพิเศษของความสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม เป็นกรณีที่มีความน่าสนใจเป็นพิเศษ ความแตกต่างระหว่างคำนิยามสมัยใหม่กับคำนิยามของออยเลอร์นั้นเล็กน้อยมาก
แนวคิดของ ฟังก์ชัน ที่เป็นกฎในการคำนวณ แทนที่เป็นความสัมพันธ์ชนิดพิเศษนั้น อยู่ในคณิตตรรกศาสตร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงทฤษฎี ด้วยหลายระบบ รวมไปถึง แคลคูลัสแลมบ์ดา ทฤษฎีฟังก์ชันเวียนเกิด และเครื่องจักรทัวริง


ความหมายของฟังก์ชัน จากความรู้เรื่องความสัมพันธ์
1. กำหนดให้
r1 = { (0,1), (1,2), (2,3), (1,1), (0,4) }

r= { (0,3), (1,1), (2,1), (3,4) }


ถ้าต้องการแสดงว่าสมาชิกใดของโดเมนมีความสัมพันธ์กับสมาชิกใดของเรนจ์อาจจะใช้วิธี
เขียนลูกศรโยงเรียกว่าการจับคู่ เช่นจากความสัมพันธ์ r1 และ r2เขียนแผนภาพแสดงการจับคู่ได้ดังนี้
การจับคู่ระหว่างสมาชิกในโดเมนและเรนจ์ของความสัมพันธ์ r1 และ r2 มีข้อแตกต่างกันคือ
   ใน r1 มีคู่อันดับที่สมาชิกตัวหน้าเหมือนกัน แต่สมาชิกตัวหลังต่างกัน คือ (0,1) กับ (0,4) และ
(1,1) กับ (1,2) ส่วนใน r2 สมาชิกตัวหน้าของแต่ละคู่อันดับไม่เหมือนกันเลย นั่นคือแต่ละสมาชิก
ในโดเมนของ r2 จะจับคู่กับสมาชิกในเรนจ์ของ r2 เพียงตัวเดียวเท่านั้น
ความสัมพันธ์ที่มีลักษณะดังใน (1), (2) และความสัมพันธ์ r2 ใน (3) เรียกว่า ฟังก์ชัน

จากบทนิยามกล่าวได้ว่า ฟังก์ชัน f คือ ความสัมพันธ์ ซึ่งถ้ามี (x,y)Є f  และ (x,z)Є f แล้ว
y = z


r2 , r3 เป็นฟังก์ชัน เพราะไม่มีคู่อันดับใดที่มีสมาชิกตัวหน้าเหมือนกันเลย


ความสัมพันธ์ที่เขียนแบบแจกแจงสมาชิกนั้น ถ้าสมาชิกตัวหน้าของแต่ละคู่อันดับไม่เหมือน
กันเลย สรุปได้ว่าความสัมพันธ์นั้นเป็นฟังก์ชัน การพิจารณาว่าความสัมพันธ์ r ซึ่งเขียนแบบบอกเงื่อนไข
เป็นฟังก์ชันหรือไม่อาจใช้วิธีการดังนี้








จากรูป ถ้าลากเส้นขนานกับแกน Y ให้ตัดกราฟแล้ว เส้นขนานกับแกน Y จะตัดกราฟของ r1 และ r2
เพียงจุดเดียวเท่านั้น ดังนั้น r1 และ r2 เป็นฟังก์ชัน
ในกรณีที่ความสัมพันธ์เป็นฟังก์ชันเรียกโดเมนและเรนจ์ของความสัมพันธ์นั้นว่า โดเมนและเรนจ์ของ
ฟังก์ชันตามลำดับ
พิจารณาโดเมนและเรนจ์ของฟังกชันที่ได้จากการจับคู่ระหว่างสมาชิกของเซต A และเซต B ดัง
ตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 6


 ตัวอย่างที่ 7



 ตัวอย่างที่ 8



 ตัวอย่างที่ 9



จากตัวอย่างที่ 6, 7, 8 และ 9 จะเห็นว่าโดเมนของฟังก์ชันคือ A และเรนจ์ของฟังก์ชันเป็นสับเซตของ B
ฟังก์ชันในตัวอย่างดังกล่าวนี้เรียกว่า ฟังก์ชันจาก A ไป B ( function from A into B )


 โดยทั่วไปเมื่อกล่าวว่า f เป็นฟังก์ชัน จะหมายถึงฟังก์ชันจากสับเซตของ R ไป R
จากตัวอย่างที่ 7 และ 9 จะเห็นว่า โดเมนของฟังก์ชันคือ A และ เรนจ์ของฟังก์ชันคือ B
เรียกฟังก์ชันที่มีสมบัติเช่นนี้ว่า
ฟังก์ชันจาก A ไปทั่วถึง B ( function from A onto B )


 จากตัวอย่างที่ 8 และ 9 จะเห็นว่าสมาชิกแต่ละตัวของ B ที่ถูกจับคู่ จะถูกจับคู่โดยสมาชิกของ A เพียง
ตัวเดียวเท่านั้น เรียกฟังก์ชันที่มีสมบัติเช่นนี้ว่า ฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่ง (one-to-one function)







การพิจารณาว่าฟังก์ชันใดเป็นฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งหรือไม่ อาจจะพิจารณา โดยปรับบทนิยามให้สะดวก

ต่อการพิจารณาดังนี้








 ในการพิจารณาฟังก์ชันที่กำหนดให้ว่าเป็นฟังก์ชันเพิ่มหรือลดในเซตที่กำหนดให้
ถ้าพบว่าไม่ใช่ฟังก์ชันเพิ่ม(หรือลด) จะสรุปว่าเป็นฟังก์ชันลด(หรือเพิ่ม)ไม่ได้
ต้องทำการตรวจสอบว่าเป็นฟังก์ชันลด(หรือเพิ่ม)หรือไม่ ตามบทนิยาม
และที่สำคัญจะต้องไม่เรียกฟังก์ชันที่ไม่ใช่ฟังก์ชันเพิ่ม(หรือลด) ว่าฟังก์ชันไม่เพิ่ม(หรือไม่ลด)
เพราะคณิตศาสตร์มีบทเรียนเรื่องนี้อยู่ด้วย แต่เกรงว่าจะเป็นเรื่องที่ทำให้สับสนจึงไม่ได้เสนอไว้ในบทเรียนนี้



1.ฟังก์ชัน คือ ความสัมพันธ์ที่สมาชิกแต่ละตัวในโดเมนของความสัมพันธ์นั้นไปจับคู่สมาชิกในเรนจ์
เพียงตัวเดียวเท่านั้น
2. ความสัมพันธ์จะไม่เป็นฟังก์ชันก็ต่อเมื่อ มีสมาชิกบางตัวในโดนเมนของความสัมพันธ์นั้นไปจับคู่
สมาชิกในเรนจ์มากกว่าหนึ่งตัว
3. ความสัมพันธ์ที่เป็นฟังก์ชัน จะมีลักษณะการจับคู่ของสมาชิกในโดเมนกับสมาชิกในเรนจ์ 2 แบบดังนี้


4. ความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นฟังก์ชัน จะมีลักษณะการจับคู่ของสมาชิกในโดเมนกับสมาชิกในเรนจ์
ดังนี้ one to many

5. ค่าของฟังก์ชัน f ที่ x
นิยาม ค่าฟังก์ชัน f ที่ x หมายถึง ค่า y ของฟังก์ชัน f ที่ x เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ f(x)
ตัวอย่าง f(1) หมายถึง ค่า y ของฟังก์ชัน f เมื่อ x=1
        h(-3) หมายถึง ค่า y ของฟังก์ชัน g เมื่อ x=2
หมายเหตุ
1. ถ้าโจทย์กำหนดว่า f(1) =2 ต้องรู้เองว่า ในฟังก์ชัน f ถ้า x=1 จะได้ y=2 หรือ (1,2) ....f
2. ถ้าโจทย์กำหนด f ={(1,a),(2,b),(3,c)} หมายถึง f(1) = a, f(2) = b,f(3) = c


6.จากบทนิยาม กล่าวง่าย ๆ ฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่ง คือฟังก์ชันที่สมาชิกแต่ละตัวในเรนจ์ของฟังก์ชันนั้น
มีสมาชิกในโดเมนเพียงตัวเดียวเท่านั้นมาจับคู่ และฟังก์ชันที่ไม่เป็น 1-1 ก็ต่อเมื่อ มีสมาชิกบางตัวในเรนจ์
ของฟังก์ชันนั้นที่มีสมาชิกในโดเมนมากกว่าหนึ่งตัวมาจับคู่
7. วิธีการตรวจสอบว่าเป็นฟังก์ชัน 1-1 หรือไม่
1. ถ้ากำหนดฟังก์ชันแบบแจกแจงสมาชิก
วิธีการตรวจสอบ "ให้ดูที่สมาชิกตัวหลังของคู่อันดับ"
ถ้าไม่ซ้ำกัน แสดงว่าฟังก์ชันเป็นแบบ1-1
ถ้ามีซ้ำกัน แสดงว่าไม่ใช่ฟังก์ชัน 1-1
ตัวอย่างโจทย์ f(1) = {(1,2),(1,3),(2,2),(3,4)}
จะเห็นว่ามีสมาชิกอยู่ 2 คู่ ที่มีสมาชิกตัวหลังซ้ำกัน สรุปได้ว่าไม่ฟังก์ชันเป็นแบบ 1-1
2. ถ้ากำหนดแบบบอกเงื่อนไข
วิธีตรวจสอบ "ให้สมมติให้ค่า y ที่อยู่ในเรนจ์ของฟังก์ชันนั้นขึ้นมา 1 ค่า แทนลงในเงื่อนไขของฟังก์ชัน
แล้วหาค่า x ออกมา"
ถ้าได้ค่า x ค่าเดียว แสดงว่า ฟังก์ชันนั้นเป็นแบบ 1-1
ถ้าได้ค่า x มากกว่า 1 ค่า แสดงว่าไม่เป็นแบบ 1-1


 3. ถ้ากำหนดเป็นกราฟ
วิธีการตรวจสอบ "ให้ลากเส้นตรงตั้งฉากกับแกน ตัดกราหของฟังก์ชันนั้น"
ถ้าตัดกราฟเพียงจุดเดียว แสดงว่าเป็นฟังก์ชัน 1-1
ถ้าตัดกราฟมากกว่า จุด แสดงว่า ไม่เป็นฟังก์ชัน 1-1




ฟังก์ชัน
ฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่ง (1-1) ฟังก์ชันจะคืนค่าที่ไม่เหมือนกันหากนำเข้าค่าคนละค่ากัน กล่าวคือ ถ้า x1 และ x2 เป็นสมาชิกของโดเมนของ f แล้ว f (x1) = f (x2) ก็ต่อเมื่อ x1 = x2
ฟังก์ชันทั่วถึง (แบบ onto) ฟังก์ชันจะมีเรนจ์เท่ากับโคโดเมน กล่าวคือ ถ้า y เป็นสมาชิกใดๆของโคโดเมนของ f แล้วจะมี x อย่างน้อย 1 ตัว ซึ่ง f (x) = y
ฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึง เป็นฟังก์ชันที่เป็นทั้งฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่ง และฟังก์ชันทั่วถึง มักจะใช้แสดงว่าเซต X และเซต Y มีขนาดเท่ากัน



แบบฝึกหัด







เฉลยแบบฝึกหัด











                http://dit.dru.ac.th/function/detial1.html#
                http://www.youtube.com/watch?v=lVeIqyjHTs4
                วันที่  25/9/2556