วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556


แผนภูมิ  เป็นทัศน์วัสดุที่แสดงความสัมพันธ์ของเรื่องราวต่างๆ   โดยอาศัยเส้น ของตัวอักษร และภาพลายเส้น หรือภาพโครงร่าง เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจในเรื่องราวและแผนภูมิแต่ละชนิดมีรูปแบบ และโครงสร้างที่แตกต่างกัน และมีประโยชน์ต่อการใช้สอยแตกต่างกัน
ประเภทของแผนภูมิ  มีดังนี้
1. แผนภูมิคอลัมน์ 
แผนภูมิคอลัมน์จะแสดงการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลตลอดช่วงเวลาหนึ่ง หรือแสดงการเปรียบเทียบข้อมูลต่าง ๆ แผนภูมิคอลัมน์จะมีแผนภูมิย่อยชนิดต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้

แผนภูมิคอลัมน์แบบเป็นกลุ่ม     แผนภูมิชนิดนี้จะทำหน้าที่เปรียบเทียบค่าที่อยู่ในหมวดหมู่ต่าง ๆ และยังสามารถนำมาใช้ร่วมกับลักษณะพิเศษเสมือน 3 มิติ เช่นที่แสดงในแผนภูมิต่อไปนี้ หมวดหมู่ต่าง ๆ จะถูกจัดเรียงตามแนวนอน และค่าจะอยู่ในแนวตั้ง เพื่อเน้นถึงความเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ


 
แผนภูมิคอลัมน์แบบเป็นกลุ่ม


แผนภูมิคอลัมน์ 3 มิติ     แผนภูมิชนิดจะทำหน้าที่เปรียบเทียบ จุดของข้อมูลตามแกนสองแกน ตัวอย่างเช่น ในแผนภูมิแบบ 3 มิติต่อไปนี้ คุณจะสามารถเปรียบเทียบยอดขายในสี่ไตรมาสของยุโรป กับยอดขายของอีกสองแผนก


แผนภูมิคอลัมน์ 3 มิติ

2.แผนภูมิแท่ง
     แผนภูมิแท่งจะทำหน้าที่เปรียบเทียบค่าต่าง ๆ ในหลาย ๆ ค่า แผนภูมิแท่งมีแผนภูมิย่อยในชนิดต่าง ๆ 
     มีดังต่อไปนี้
       - แผนภูมิแท่งแบบเป็นกลุ่ม     แผนภูมิชนิดนี้จะเปรียบเทียบค่าในข้อมูลทั้งหมดที่มี ผู้ใช้สามารถใช้ร่วมกับแผนภูมิรูปลักษณะพิเศษเสมือน 3 มิติ ในแผนภูมิต่อไปนี้ ข้อมูลจะถูกจัดเรียงตามแนวตั้ง และค่าจะอยู่ในแนวนอน เพื่อเน้นหนักที่การเปรียบเทียบค่าต่าง ๆ

 
แผนภูมิแท่งแบบเป็นกลุ่ม     

แผนภูมิแท่งแบบกองซ้อน      แผนภูมิชนิดนี้แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลหนึ่งกับข้อมูลทั้งหมด       และสามารถนำมาใช้ร่วมกับลักษณะพิเศษเสมือน 3 มิติ


แผนภูมิแท่งแบบกองซ้อน    
  
   3. แผนภูมิเส้น
     แผนภูมิเส้นจะแสดงแนวโน้มของข้อมูล ณ ช่วงเวลาที่เท่า ๆ กัน

     แผนภูมิเส้น     แผนภูมิชนิดนี้จะแสดงแนวโน้มสำหรับช่วงเวลาหนึ่งหรือของข้อมูลชุดหนึ่ง ผู้ใช้สามารถใช้แผนภูมินี้ร่วมกับมาร์กเกอร์ที่แสดงผลที่ค่าของข้อมูลแต่ละค่า

 
แผนภูมิเส้น     

   4. แผนภูมิวงกลม
แผนภูมิวงกลมจะแสดงขนาดของข้อมูลที่สร้างขึ้นเป็น ชุดของข้อมูล โดยแบ่งเป็นสัดส่วนตามผลรวมของข้อมูล แผนภูมินี้จะแสดงเฉพาะชุดข้อมูลชุดหนึ่ง และถือว่ามีประโยชน์มากเมื่อคุณต้องการเน้นที่องค์ประกอบเด่น ๆ ที่อยู่ในข้อมูล แผนภูมิวงกลมมีแผนภูมิย่อยดังต่อไปนี้

 
แผนภูมิวงกลม

แผนภูมิวงกลมแบบแยกตัว     แผนภูมิชนิดนี้จะแสดงการกระจายของค่าแต่ละค่าต่อผลรวม พร้อม ๆ กับเน้นที่ค่าใดค่าหนึ่ง ผู้ใช้สามารถใช้แผนภูมินี้ร่วมกับลักษณะพิเศษเสมือน มิติ

 
        แผนภูมิวงกลมแบบแยกตัว   

   5. แผนภูมิแบบอธิบายภาพ  (Illustrative Charts)
ใช้แสดงส่วนต่างๆ ของภาพหรือบอกรายละเอียดของภาพ เช่น อวัยวะต่างๆ ของคน ส่วนต่างๆ ของดอกไม้ เป็นต้น ตัวอย่าง แผนภูมิแสดงส่วนประกอบของพืชใบเลี้ยงคู่


ตัวอย่าง    แผนภูมิแสดงส่วนประกอบของพืชใบเลี้ยงคู่

   6. แผนภูมิแบบต้นไม้(Tree Charts) 
ลักษณะของแผนภูมิแบบนี้ จะเหมือนกับการแตกแขนงของกิ่งก้านของต้นไม้ โดยยึดหลักการแตกของกิ่งก้านเป็นหลัก หรือแนวเส้นของแผนภูมิ โดยจะแสดงให้เห็นว่า สิ่งหนึ่งสามารถจำแนกออกเป็นส่วนย่อยได้อีกหลายส่วน เปรียบเสมือนต้นไม้ที่แตกกิ่งออกไป เช่น การคมนาคมมี 3 ทางคือทางบก ทางน้ำ ทางอากาศเป็นต้น

แผนภูมิแสดงการคมนาคมแบ่งออกเป็น 3 ทาง คือ ทางอากาศ ทางน้ำ และทางบก
 
ตัวอย่าง  แผนภูมิแบบต้นไม้

   7. แผนภูมิแบบสายธารา( Stream Charts)
ลักษณะของแผนภูมิแบบนี้ จะเปรียบเหมือนกับการรวมตัวของลำธารน้ำกลายเป็นลำคลอง และแม่น้ำที่กว้างใหญ่ขึ้น โดยจะแสดงให้เห็นว่าสิ่งหนึ่งเกิดจากหลายสิ่งรวมกัน ซึ่งจะตรงกันข้ามกับแผนภูมิแบบต้นไม้ เช่น คอมพิวเตอร์เกิดจากอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ชิพ เมนบอร์ด จอภาพ ขนมปังเกิดจาก แป้ง ยีสต์ น้ำตาล เป็นต้น

แผนภูมิแสดงส่วนประกอบของขนมปังเกิดจากแป้ง  ไข่ไก่  ยีสต์  และน้ำตาล
 
ตัวอย่างแผนภูมิแบบสายธารา

   8. แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ( Comparison Charts)
เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งของสองสิ่งทางด้านรูปร่าง ลักษณะ ขนาด แนวความคิด ของสิ่งต่างๆ เช่น การเปรียบเทียบการแต่งกายในสมัยต่างๆ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวกับใบเลี้ยงคู่ เป็นต้น

แผนภูมิแบบเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างอเมริกันฟุตบอลกับรักบี้

ตัวอย่างแผนภูมิแบบเปรียบเทียบ

   9. แผนภูมิแบบองค์การ  ( Organization Charts)
เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ของสายงานในหน่วยงานหรือองค์การ นิยมใช้เส้นโยงความสัมพันธ์ ของหน่วยงานย่อย ที่เกี่ยวข้องกันโดยตรงและใช้เส้นประ หรือเส้นจุดไข่ปลา แสดง ความสัมพันธ์ของหน่วยงานย่อยที่ เกี่ยวข้องกันโดยอ้อม เช่น แผนภูมิแสดงสายงานการบริหารโรงเรียน เป็นต้น


ตัวอย่างแผนภูมิแบบองค์การ

   10. แผนภูมิแบบต่อเนื่อง( Flow Charts)
ใช้แสดงเรื่องราว กิจกรรม การทำงานเป็นขั้นตอนตามลำดับต่อเนื่อง ตลอดจนการแสดง วงจรชีวิตที่เป็นลำดับต่อเนื่อง เช่น วงจรชีวิตของผีเสื้อ


ตัวอย่างแผนภูมิแสดงวงจรชีวิตของผีเสื้อ

   11. แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ  ( Developmental Charts)
แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ต่อเนื่องกันเป็นลำดับ แต่ไม่ย้อนกลับมาที่จุดเริ่มต้นอีก

ตัวอย่างแผนภูมิแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของกล้องถ่ายภาพ

   12. แผนภูมิแบบขยายส่วน  ( Enlarging Chartsz)

เป็นแผนภูมิที่มุ่งแสดงให้เห็นลายละเอียดของส่วนเล็กๆ   ขยายให้ใหญ่ขึ้นเน้นส่วนที่ต้องการ ให้เห็นชัดเจนขึ้น โดยขยายเฉพาะบางส่วน เท่านั้น


ตัวอย่างแผนภูมิแบบขยายส่วน  

ลักษณะของแผนภูมิที่ดี
  • เป็นแบบง่ายๆ ไม่สลับซับซ้อนหรือยุ่งยาก
  • แสดงแนวความคิดเพียงแนวคิดเดียว
  • เนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย ตรงกับวัตถุประสงค์
  • สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน สร้างความประทับใจ
  • มีขนาดใหญ่พอเหมาะกับกลุ่มผู้เรียน
  • ใช้สีเรียบๆ เพียง 2-3 สี หรือใช้เพื่อเน้นความสนใจ
  • ตัวอักษรที่ใช้ควรเป็นแบบที่อ่านง่าย ประณีตบรรจงและควรเป็นแบบเดียวกัน
  •  นอกจากต้องการเน้น
  • ชื่อเรื่องและเนื้อหาควรสอดคล้องกับภาพและใช้ตัวอักษรที่โตกว่าคำบรรยาย
  • คำบรรยายควรใช้ข้อความสั้นๆ กะทัดรัด
  • สัญลักษณ์หรือรูปภาพควรเป็นแบบง่ายๆ ไม่แสดงรายละเอียดมากนัก
  • ประโยชน์ของแผนภูมิต่อการเรียนการสอน 
    ใช้นำเข้าสู่บทเรียน จะช่วยกระตุ้นหรือ เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนมุ่งความสนใจ มาสู่เนื้อหา ที่กำลังจะเริ่มต้นใช้ ประกอบการอธิบาย แผนภูมิช่วยให้รายละเอียดของเนื้อหา ได้ชัดเจนกว่าคำอธิบาย ที่เป็นนามธรรมให้มี ความเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากค้นคว้าหาความรู้ เพิ่มเติม ใช้คู่กับสื่อการสอนประเภทอื่นๆ อาจเป็นในรูปแบบของสื่อประสม ใช้สรุปหรือทบทวนบทเรียน ช่วยให้เกิดความคิดรวบยอดแก่ผู้เรียน
  • การใช้แผนภูมิประกอบการเรียนการสอน 
    มีข้อเสนอแนะในการนำแผนภูมิมาใช้ในการเรียนการสอนที่น่าสนใจดังนี้
  • เลือกใช้แผนภูมิที่ตรงกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอน
  • เตรียมห้องเรียน และเตรียมผู้เรียนโดยให้ศึกษาเนื้อหาล่วงหน้า
  • เสนอแผนภูมิอย่างช้าๆ อธิบายให้ละเอียดและชัดเจน
  • ควรใช้ไม้ชี้ประกอบการอธิบาย
  • ใช้สื่อการสอนอื่นประกอบการใช้แผนภูมิด้วย
  • ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการหาข้อมูลหรือจัดทำแผนภูมิ
  • หลังสิ้นสุดการสอนควรทดสอบความเข้าใจ และติดแผนภูมิไว้ในห้องเรียนสักระยะหนึ่ง
  • ส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมประกอบเพิ่มเติม เพื่อเป็นการย้ำเน้นของ
  • แผนภูมิและยังช่วยให้การสรุปบทเรียนมีคุณค่ายิ่งขึ้น

แผนภูมิ แผนภาพ
แผนภูมิเป็นทัศนวัสดุที่แสดงความสัมพันธ์ของเรื่องราวต่างๆ   โดยอาศัยเส้น ของตัวอักษร และภาพลายเส้น หรือภาพโครงร่าง เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจในเรื่องราว   แผนภูมิแบ่งออกเป็น 9 ชนิด แต่ละชนิดมีรูปแบบ และโครงสร้างที่แตกต่างกัน มีประโยชน์ต่อการใช้สอยแตกต่างกัน

ให้นักเรียนพิจารณาแผนภูมิรูปวงกลมต่อไปนี้  
1. แผนภูมิแสดงร้อยละ โดยปริมาณของธาตุต่าง ๆ ในร่างกายของคน


จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.1 ในร่างกายของคนมีธาตุอะไรในร่างกายมากที่สุด ประมาณร้อยละเท่าใดของธาตุทั้งหมด
1.2 ในร่างกายของคนมีธาตุอะไรน้อยที่สุด  ประมาณร้อยละเท่าใดของธาตุทั้งหมด 
1.3 ในร่างกายของคนมีออกซิเจนมากกว่าคาร์บอนร้อยละเท่าใด ของธาตุทั้งหมด
1.4 ในร่างกายของคนมีคาร์บอนเป็นกี่เท่าของไนโตรเจนโดยประมาณ
1.5 ในร่างกายของคนมีออกซิเจน ไนโตรเจน และอื่น ๆ  รวมกันกี่เท่าของคาร์บอน โดยประมาณ

2.ให้นักเรียนพิจารณา แผนภูมิรูปวงกลมต่อไปนี้
แผนภูมิแสดงปริมาณขั้นต่ำ  ของอาหารเป็นกรัมที่เด็กหญิงวัย  11 -  12  ปี ควรได้รับ ในแต่ละวัน


ที่มา: กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุ

จงตอบคำถามเกี่ยวปริมาณขั้นต่ำ ของอาหารที่เด็กหญิงวัย  11 -  12  ปี ควรได้รับในแต่ละวัน
ดังต่อไปนี้ 
2.1 ควรรับประทานอาหารเนื้อสัตว์ และไข่รวมกันประมาณอย่างน้อยกี่กรัม 
2.2 ควรรับประทานเนื้อสัตว์หนักประมาณกี่เท่าของน้ำหนักข้าว 
2.3 ควรรับประทานข้าวประมาณกี่เท่าของน้ำหนักอาหารที่รับประทานทั้งหมด
2.4 ปริมาณอาหารประเภทใดที่ควรรับประทานให้มีน้ำหนักใกล้เคียงกัน

เฉลย
1.1  ในร่างกายของคนมีธาตุอะไรในร่างกายมากที่สุด ประมาณร้อยละเท่าใดของธาตุทั้งหมด
  วิธีทำ  ข้อนี้ยากจัง   อธิบายเพื่อความเข้าใจเอาไว้ไปใช้งานนะ
            เมื่อเราดูวงกลม  มีองศาทั้งหมด เท่ากับ  360 องศา    คือพื้นที่ทั้งหมดของวงกลม
            จากรูปเราสังเกตุไหมว่า  จำนวนเปอร์เซนต์ทั้งหมด คือ 100 %
           ดังนั้น  พื้นที่ทั้งหมด  ของวงกลม   เท่ากับ   100  % 
         จากรูป  -    ในร่า่งกายของคนมีธาตุอะไรในร่างกายมากที่สุด
                    -     ประมาณร้อยละเท่าใดของธาตุทั้งหมด
          มากที่สุด  คือ  ออกซิเจน  มีประมาณ  65 %  ของธาตุทั้งหมด

1.2    ในร่างกายของคนมีธาตุอะไรน้อยที่สุด  ประมาณร้อยละเท่าใดของธาตุทั้งหมด
  วิธีทำ
           ดังนั้น  พื้นที่ทั้งหมด  ของวงกลม   เท่ากับ   100  %
         จากรูป  -    ในร่า่งกายของคนมีธาตุอะไรในร่างกายน้อย ที่สุด
                    -     ประมาณร้อยละเท่าใดของธาตุทั้งหมด
          มากที่สุด  คือ  ไนโตรเจน   มีประมาณ  3 %  ของธาตุทั้งหมด

1.3  ในร่างกายของคนมีออกซิเจนมากกว่าคาร์บอนร้อยละเท่าใด ของธาตุทั้งหมด
  วิธีทำ
                 พื้นที่ทั้งหมด  ของวงกลม   เท่ากับ   100  %
         จากรูป  -   ในร่างกายของคนมีออกซิเจนมากกว่าคาร์บอนร้อยละเท่าใด ของธาตุทั้งหมด
                        ออกซิเจน      มี   65 %
                       -  คาร์บอน        มี   18 %
                                                   =       65 -  18       =    47%
                  เพราะ ธาตุทั้งหมดคือ   100 %  
                  ดังนั้น จะได้ว่า   ในร่างกายของคนมีออกซิเจนมากกว่าคาร์บอนร้อยละ   47   ของธาตุทั้งหมด

1.4  ในร่างกายของคนมีคาร์บอนเป็นกี่เท่าของไนโตรเจนโดยประมาณ
  วิธีทำ

                 พื้นที่ทั้งหมด  ของวงกลม   เท่ากับ   100  %

         จากรูป  -  ในร่างกายของคนมีคาร์บอนเป็นกี่เท่าของไนโตรเจนโดยประมาณ
                        ไนโตรเจน      มี     3 %
                       -  คาร์บอน         มี   18 %
                          อัตราส่วน ของ  คาร์บอน   :   ไนโตรเจน
                                                     18       :      3
                                                   =       65 -  18       =    47%
                  เพราะ ธาตุทั้งหมดคือ   100 %  
                  ดังนั้น จะได้ว่า   ในร่างกายของคนมีออกซิเจนมากกว่าคาร์บอนร้อยละ   47   ของธาตุทั้งหมด

1.5          ในร่างกายของคนมีออกซิเจน ไนโตรเจน และอื่น ๆ  รวมกันกี่เท่าของคาร์บอน โดยประมาณ
  วิธีทำ

                 พื้นที่ทั้งหมด  ของวงกลม   เท่ากับ   100  %

         จากรูป  -  ในร่างกายของคนมีออกซิเจน ไนโตรเจน และอื่น ๆ  รวมกันกี่เท่าของคาร์บอน โดยประมาณ
         จากโจทย์กำหนดมาให้ 
                       -  ออกซิเจน        มี        65 %
                       -  ไฮโดรเจน       มี         10 %
                        ไนโตรเจน       มี          3 %
                       -  อื่น ๆ             มี          4 %
                       -  คาร์บอน         มี         18 %
                          อัตราส่วน ของ  คาร์บอน   :   ไนโตรเจน + ไฮโดรเจน  +  ออกซิเจน  +  อื่น ๆ
                                                     18       :      3   +     10       +      65       +   4     
                                                     18       :      82
                                                       1       :      4.56

      ในร่างกายของคนมี           คาร์บอน   :   ออกซิเจน ไนโตรเจน และอื่น ๆ  รวมกัน 

                                                    เป็น   1 :   4.56   โดยประมาณ 


2.1   ควรรับประทานอาหารเนื้อสัตว์ และไข่รวมกันประมาณอย่างน้อยกี่กรัม
     -    เนื้อสัตว์       128    กรัม
     -    ไข่               35    กรัม
      =                   128     +    35  
      =                   163    กรัม
  ควรรับประทานอาหารเนื้อสัตว์ และไข่รวมกันประมาณอย่างน้อย    163   กรัม

2.2   ควรรับประทานเนื้อสัตว์หนักประมาณกี่เท่าของน้ำหนักข้าว  
     -    เนื้อสัตว์       128    กรัม
     -    ข้าว            264    กรัม
 ดังนั้น           เนื้อสัตว์   :        ข้าว
                    128      :        264
                       1      :         2.06   
                   เนื้อสัตว์   :    น้ำหนักข้าว       คือ    1   :    2.06

2.3   ควรรับประทานข้าวประมาณกี่เท่าของน้ำหนักอาหาร  ที่รับประทานทั้งหมด
             ดังนั้น   หา  น้ำหนัก ข้าว   :      น้ำหนัก  อาหารทั้งหมด 
                   ข้าว     :     ไข่  +   เนื้อสัตว์   +   ผักเขียว
                   264     :     35   +    128     +    119
                   264     :     282 
                      1      :     1.07
          น้ำหนัก ข้าว   :      น้ำหนัก          อาหารทั้งหมด   คือ    1      :     1.07  

 2.4   ปริมาณอาหารประเภทใดที่ควรรับประทานให้มีน้ำหนักใกล้เคียงกัน
          เพราะ -     เนื้อสัตว์          128   กรัม
                  -     ผักใบเขียว       119   กรัม
          ควรรับประทานให้มีน้ำหนักใกล้เคียงกัน     คือ เนื้อสัตว์     และ  ผักใบเขียว

                    http://www.youtube.com/watch?v=172blMsQ37M
                    http://www.edu.nu.ac.th/wbi/355201/p37.html
            วันที่  14 กันยายน 2556 

4 ความคิดเห็น:

  1. การใช้แผนภูมิ สามารถช่วยให้เข้าใจในเรื่องที่จะใช้แก้ปัญหาได้ง่ายกว่าการใช้วิธีอื่น เพราะการใช้แผนภูมิจะเห็นภาพได้อย่างชัดเจน และในบล็อคนี้ มีเนื้อหาประเภทของแผนภูมิไว้หลายประเภท สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตรงตามการแก้ไขปัญหาได้ เช่นการแก้ปัญหาโจทย์คณิตศาสตร์

    ตอบลบ
  2. เข้าใจง่ายดี ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับแผนภูมิชนิดต่างๆ

    ตอบลบ
  3. การเข้าใจเรื่องแผนภูมิสามารถทำให้เราเข้าใจเนื้อหาบทเรียนมากขึ้น

    ตอบลบ
  4. ...เนิื้อหาสร้างความเเข้าใจดีค่ะ...^____________^

    ตอบลบ